จะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กที่พ่อแม่ไม่สามารถทำหน้าที่เลี้ยงดูได้

เด็กทุกคนในครอบครัว

เด็กจะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมของครอบครัว เด็กต้องการพ่อแม่ที่ให้ความรัก ดูแลเอาใจใส่และให้ความคุ้มครอง

เด็กไม่ควรถูกพรากจากพ่อแม่ พี่น้อง และปู่ย่าตายายเพราะเหตุแห่งความยากจน หรือเพราะเด็กไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา

หากเราร่วมมือกัน จะสามารถทำให้เรื่องนี้เป็นจริงขึ้นได้ สำหรับเด็กในประเทศไทย

ผม/ดิฉัน มีส่วนในการให้ความช่วยเหลือแก่เด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบาง

โดยผม/ดิฉัน เป็น

เจ้าหน้าที่ภาครัฐ หรือผู้ให้การสนับสนุนจากภาครัฐ

อาสาสมัคร

ผู้ก่อตั้งหรือเจ้าหน้าที่ในสถานสงเคราะห์เด็ก

ผู้บริจาค

เกี่ยวกับเรา

สมาชิกภาคีเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย (The Convention on the Rights of the Child Coalition for Thailand หรือ CRCCT) ร่วมกันเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลโดยกรมกิจการเด็กและเยาชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำหลักการต่างๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กไปใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย

โดย CRCCT ประกอบด้วยคณะทำงาน 6 กลุ่มเชิงประเด็นที่ทำหน้าที่ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิเด็ก เว็บไซต์นี้มูลนิธิวันสกายจัดทำขึ้นสำหรับคณะทำงานด้านการเลี้ยงดูทดแทนซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานของ CRCCT

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CRCCT และคณะทำงานด้านการเลี้ยงดูทดแทนได้ที่เว็บไซต์นี้

ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เด็กจำนวนมากต้องถูกแยกออกจากครอบครัวโดยไม่มีเหตุจำเป็น และโดยที่ยังมิได้มีการให้ความช่วยเหลือเท่าที่ทำได้แก่ครอบครัวเด็ก

ปัญหาความยากจนและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความยากจนนั้นยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กต้องเข้าสู่สถานสถานสงเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และแนวปฏิบัติด้านการเลี้ยงดูทดแทนสำหรับเด็ก ของสหประชาชาติ นั้นกำหนดไว้อย่างชัดเจน และความยากจนไม่ใช่เหตุผลในการแยกเด็กออกจากครอบครัว

เด็กทุกคนควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ให้การส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และให้การเลี้ยงดู อันจะช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ เมื่อครอบครัวของเด็กไม่สามารถให้การเลี้ยงดูเด็กได้อย่างเพียงพอ แม้ว่าครอบครัวนั้นจะได้รับความช่วยเหลือแล้วก็ตาม รัฐมีหน้าที่สร้างหลักประกันให้เด็กได้รับการเลี้ยงดูทดแทนที่เหมาะสม

ในประเทศไทย การเลี้ยงดูทดแทนในรูปแบบสถานรองรับ หรือสถาบัน เช่น สถานสงเคราะห์เด็กเอกชนนั้นมักเป็นทางเลือกแรกในการเลี้ยงดูเด็กที่ครอบครัวมีปัญหา ในฐานะที่เราเป็นนักวิชาชีพในด้านสิทธิเด็ก และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเด็ก เราต้องการที่จะกลับด้านพีระมิดเงินทุนสนับสนุน โดยปรับเปลี่ยนจากที่เดิมเคยใช้เงินจำนวนมากเพื่อลงทุนในสถานรับเลี้ยงเด็กภาคเอกชน ให้เป็นการเพิ่มการให้บริการช่วยเหลือสนับสนุนครอบครัว และสร้างทางเลือกเกี่ยวกับการเลี้ยงดูทดแทนในรูปแบบครอบครัวมากขึ้น

แนวทางปฏิบัติด้านการเลี้ยงดูทดแทนของสหประชาชาติกำหนดว่า เมื่อจำเป็นต้องแยกเด็กออกจากครอบครัว ให้การดำเนินการดังกล่าวมีระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้เวลาและความพยายามในการแก้ไขปัญหาอันเป็นสาเหตุให้ต้องแยกเด็ก นั้น การช่วยเหลือครอบครัวลักษณะนี้เรียกว่า การให้การสนับสนุนแก่ครอบครัว ทั้งนี้ การเลี้ยงดูทดแทนในรูปแบบครอบครัวมีทางเลือกต่างๆ ได้แก่ ครอบครัวเครือญาติอุปถัมภ์ และครอบครัวอุปถัมภ์ ซึ่งควรใช้เป็นทางเลือกอันดับแรกในการเลี้ยงดูทดแทนสำหรับเด็ก โดยให้สถานสงเคราะห์เป็นทางเลือกในอันดับท้ายสุด

คณะทำงานด้านการเลี้ยงดูทดแทน เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย

เว็บไซต์นี้จัดทำโดย

เว็บไซต์นี้สนับสนุนโดย

หากท่านต้องการศึกษาเกี่ยวกับตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีในการเลี้ยงดูทดแทนในรูปแบบครอบครัวในประเทศไทย โปรดเข้าชมเว็บไซต์ของสมาชิกเครือข่าย

หากท่านพบเห็นหรือทราบข่าวเด็กตกอยู่ในภาวะอันตราย โปรดติดต่อ

1300

ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วนคุ้มครองเด็ก

1387

มูลนิธิสายเด็กแห่งประเทศไทย

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงดูทดแทนในประเทศไทย

Pin It on Pinterest

Share This