แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้บริจาค

ปัจจุบัน สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้เด็กไม่สามารถอยู่กับพ่อแม่ได้ โดยแต่ละประเทศก็มีวิธีรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้แตกต่างกัน

ในประเทศตะวันตก มีแนวทางปฏิบัติที่เข้มงวดในการรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว และบุคลากรที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กชั่วคราวนั้นได้รับการฝึกอบรม โดยมีการกำกับดูแลการปฏิบัติงานอย่างเข้มงวด

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มที่แตกต่างออกไป

สิ่งที่พบได้โดยทั่วไป คือ องค์กรเอกชนต่างประเทศ คณะมิชชันนารี และอาสาสมัครเป็นผู้เปิดดำเนินการสถานสงเคราะห์เด็กเพื่อเลี้ยงดูเด็ก “กำพร้า” สถานสงเคราะห์เด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่มิได้ดำเนินการตามกฎหมาย โดยไ่ได้จดทะเบียนกับสำนักงานพัฒนาสังคมฯจังหวัด

ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้สถานสงเคราะห์เด็กเอกชนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเหล่านี้ ยังคงเปิดดำเนินการต่อไป โดยไม่ถูกตรวจสอบหรือกำกับดูแล คืออะไร

ผู้บริจาครายย่อยอย่างเราๆท่านๆนี่เอง

ในสังคมโลกตะวันตก ได้ยกเลิกแนวคิดเกี่ยวกับบ้านเด็กกำพร้า และการเลี้ยงดูเด็กในรูปแบบสถาบันไปนานแล้ว และเพราะเหตุใด จึงคงสนับสนุนเงินให้ผู้คนเดินทางไปยังประเทศอื่น และนำเด็กเข้าสู่การเลี้ยงดูในรูปแบบสถาบันของประเทศนั้นๆ โดยใช้ชื่อใหม่ว่า “สถานสงเคราะห์เด็ก”

เหตุใดเราจึงยอมให้ยังมีการเลี้ยงดูเด็กจำนวนมากในรูปแบบสถาบัน ทั้งที่พ่อแม่ของเด็กๆยังมีชีวิตอยู่ และยังต้องการจะเลี้ยงดูบุตรของตนต่อไป เพียงแต่ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ

แม้จะฟังดูโหดร้าย แต่ความจริงที่เกิดขึ้นก็คือ สถานสงเคราะห์เด็ก มิใช่การช่วยเหลือเด็กด้วยความเมตตาเลย

แต่ในทางกลับกัน สถานสงเคราะห์เด็กเอกชนเหล่านี้เป็นสถานประกอบการที่มิชอบด้วยกฎหมาย และเป็นเครื่องมือในการแยกเด็กที่มีภาวะเปราะบางออกจากพ่อแม่ ด้วยการใช้เงินช่วยเหลือและการศึกษาเป็นสิ่งล่อ

หากใช้ใจที่เป็นกลางพิจารณาสถานการณ์ ของสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนในประเทศไทย ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว

รายงานฉบับนี้แสดงข้อมูลที่มูลนิธิวันสกายเก็บรวบรวมตลอดระยะเวลาสองปี คือระหว่างปี 2559 และปี 2560 มูลนิธิวันสกายใช้อาสาสมัคร 31 คนเพื่อทำการหาข้อมูลสถานสงเคราะห์เด็กในประเทศไทย โดยใช้ระยะเวลาในการสืบค้นทั้งสิ้น 336 ชั่วโมง และยังสอบทานกับรายชื่อสถานรองรับเด็กเอกชนที่มีการจดทะเบียนถูกต้องแล้ว ในฐานข้อมูลของกรมกิจการเด็กและเยาวชน 

q

มูลนิธิวันสกายจัดทำเอกสารที่รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับสถานรับเลี้ยงเด็กภาคเอกชนที่มิได้ขึ้นทะเบียนจำนวน 240 แห่ง ซึ่งเชื่อว่าปัจจุบันยังมีการดำเนินงานในประเทศไทย

q

สถานสงเคราะห์เด็กเอกชน ซึ่งมิได้จดทะเบียนเหล่านี้ ส่วนใหญ่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากผู้บริจาค ในประเทศตะวันตก และมีลักษณะเป็นองค์กรทางศาสนา ปัจจัยนี้ส่งผลกระทบต่อสิทธิของเด็กในการคงภาษา วัฒนธรรม และศาสนาเดิมของตนไว้

q

ร้อยละ 53 ของสถานสงเคราะห์เด็กเหล่านี้ มีการโฆษณา เปิดรับอาสาสมัครเข้าทำงานกับเด็กอย่างชัดแจ้ง ในจำนวนนี้ มีเพียงร้อยละ 10 ที่ระบุว่าจะต้องมีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของอาสาสมัครก่อนที่จะรับเข้าทำงาน

q

กลุ่มเป้าหมายอันดับแรกๆ ของสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนซึ่งมิได้จดทะเบียนเหล่านี้คือ เด็กที่มีฐานะยากจน อยู่ในภาวะเสี่ยง หรือไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาที่เหมาะสม แม้ว่าแนวทางปฏิบัติของสหประชาชาติ (ข้อ 15) กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า “ปัญหาเศรษฐกิจ ความขัดสนด้านวัตถุ หรือปัญหาอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความยากจน ย่อมไม่ใช่ข้ออ้างที่สมเหตุผลสำหรับการใช้มาตรการแยกเด็กจากพ่อแม่”

q

เด็กที่มาจากครอบครัวของผู้อพยพย้ายถิ่นซึ่งมีฐานะยากจน ตามแนวชายแดนภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทยนั้น อยู่ในภาวะเปราะบางอย่างมากที่จะถูกแยกออกจากครอบครัว และเข้ารับการเลี้ยงดูในรูปแบบสถาบันตามสถานสงเคราะห์เด็กเอกชนซึ่งมิได้จดทะเบียนตามกฎหมายเหล่านี้

q

สถานสงเคราะห์เด็กเอกชนซึ่งมิได้จดทะเบียนจำนวน 50 แห่ง ใช้ชื่อจริง (หรือชื่อเล่น) และภาพถ่ายจริงที่สามารถระบุตัวตนของเด็กได้ รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวและเรื่องราวที่ควรเก็บเป็นความลับของเด็ก เช่น อายุ ที่อยู่ เป็นผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี/เอดส์ รวมถึง สาเหตุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ (เช่น ถูกทอดทิ้ง ถูกล่วงละเมิด พ่อแม่ต้องโทษจำคุก เป็นต้น) ขึ้นโพสต์บนเว็บไซต์ ซึ่งส่งผลกระทบทางสังคมต่อตัวเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเด็กโตขึ้นและข้อมูลเหล่านี้ยังอยู่ในอินเตอร์เนต ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 อย่างชัดแจ้ง อีกทั้งยังเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของเด็ก รวมทั้งสิทธิในการเก็บรักษาข้อมูลเป็นความลับเมื่อเด็กได้รับการเลี้ยงดูทดแทน

ข้อมูลข้างต้นมาจาก “วิกฤตที่มองไม่เห็น” A Hidden Crisis: The proliferation of private childrens homes in Thailand โดยมูลนิธิวันสกาย

ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ในประเทศไทยก็คือ ใครก็ตามที่คิดจะทำบ้านเพื่อเลี้ยงดูเด็ก แค่ไปหาเด็กๆจากครอบครัวที่ยากจนมาเลี้ยง แล้วเปิดเป็นบ้านเด็กหรือสถานสงเคราะห์นั้น ทำได้ง่ายๆ ไม่ได้ยุ่งยากลำบากเลย เพียงใช้กูเกิลสืบค้นข้อมูล ก็จะพบเว็บไซต์จำนวนมาก เกี่ยวกับบ้านพักเด็กที่ทำการตลาดอย่างชาญฉลาดด้วยการเล่าเรื่องราวและแสดงภาพของเด็กเพื่อระดมทุน เมื่อได้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับบ้านพักเด็กดังกล่าวก็จะพบว่า บ่อยครั้งมีการนำเสนอข้อมูลเด็กที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง หรือแต่งเรื่องให้เกินความเป็นจริง และแม้แต่มีการกุเรื่องขึ้นเพื่อสร้างรายได้ เพื่อดึงดูดอาสาสมัคร และเงินบริจาคของอาสาสมัครนั้น

บางเว็บไซต์ทำการตลาด ว่าเป็น การท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร และนำเสนอเรื่องราวน่าประทับใจที่อาสาสมัครคนก่อนเขียนไว้ เช่น กอดที่อาสาสมัครได้รับจากเด็กเมื่อเดินทางถึงบ้านพัก สิ่งเหล่านี้มิใช่เรื่องที่ควรจะให้การสนับสนุน เนื่องจากเป็นสัญญาณเตือนว่า เด็กเหล่านี้กำลังขาดรัก จึงโหยหาความรักความเอาใจใส่แม้แต่จากคนแปลกหน้าซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติของเด็กเลย ปละการขาดความรักความเอาใจใส่ ในวัยเด็กนี้ ก็ก็จะไม่สามารถเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีความมั่นคงและมีความสุขได้ ในขณะเดียวกัน การที่เด็กเริ่มสร้างความผูกพันและต้องพรากจากผู้เลี้ยงดูที่หมุนเวียนเปลี่ยนมาตลอดเวลา เด็กจะสร้างกลไกป้องกันตัวเองจากความสูญเสียนั้น ทำให้เด็กไม่กล้าสร้างความผูกพันกับใคร ที่เรียกกันว่า โรคความผูกพันผิดปกติ (Attachment Disorder)

รายงานการศึกษาต่างยืนยันว่าประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความยากจนและผลกระทบจากความยากจนเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เด็กจำนวนมากต้องเข้าสู่สถานสงเคราะห์เด็ก แม้ว่าเด็กเหล่านั้นจะยังมีพ่อแม่อยู่ก็ตาม แนวปฏิบัติด้านการเลี้ยงดูทดแทนนั้น จัดทำขึ้นเนื่องจากนานาประเทศต่างมีข้อกังวลเกี่ยวกับการแยกเด็กออกจากครอบครัวเด็กโดยไม่จำเป็น และการใช้สถานสงเคราะห์ เพื่อการเลี้ยงดูเด็กเหล่านี้มากจนเกินไป

จุดเริ่มต้นที่ดีคือการเชื่อว่าครอบครัวเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของชุมชน และสังคมที่ดี

เด็กจะเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวของตนเอง และรวมถึงครอบครัวเครือญาติ และครอบครัวอุปถัมภ์ด้วย

ทั้งนี้ หากท่านเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวเป็นความจริง แสดงว่าเราต่างมีความคิดเห็นตรงกัน

หากท่านเห็นว่าข้อมูลในเว็บไซต์นี้น่าสนใจ และต้องการพูดคุยกับเรา โปรดติดต่อเรา

เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความช่วยเหลือท่านเท่าที่จะดำเนินการได้เพื่อให้เด็กใประเทศไทยเติบโตในครอบครัวที่มีความรักความเอาใจใส่มากขึ้น

IN OUR LIFETIME

ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันจากทุกฝ่าย ก็จะช่วยยุติการเลี้ยงดูทดแทนในรูปแบบสถาบันได้ทั่วทั้งโลกภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050)

ผู้บริจาคมีส่วนสำคัญในการยุติการเลี้ยงดูทดแทนในรูปแบบสถาบัน และมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับฝ่ายผู้ไม่ต้องการให้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลง รายงานฉบับนี้มุ่งเสนอข้อมูลแก่ผู้บริจาคเพื่อทบทวนการตัดสินใจให้เงินทุนสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กเชิงสถาบัน สถาบันเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาวะ พัฒนาการและโอกาสในชีวิตของเด็กในอนาคต รายงานฉบับนี้เชิญชวนให้ผู้บริจาคศึกษาทำความเข้าใจ เพื่อให้มั่นใจว่าเงินบริจาคนี้ ถูกนำไปใช้เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครอบครัว ด้วยการเสริมสร้างบริการชุมชนในด้านต่างๆ แทนการให้เงินเพื่อสนับสนุนสถานสงเคราะห์เด็ก

หากท่านพบเห็นหรือทราบข่าวเด็กตกอยู่ในภาวะอันตราย

โปรดติดต่อ

1300

ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วนคุ้มครองเด็ก

1387

มูลนิธิสายเด็กแห่งประเทศไทย

ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงดูทดแทนในประเทศไทย

Pin It on Pinterest

Share This