แนวทางปฏิบัติสำหรับอาสาสมัคร
ท่านสนใจเป็นอาสาสมัครในต่างประเทศเพื่อร่วมงานกับองค์กรที่ทำงานด้านเด็ก สถานสงเคราะห์เด็ก หรือบ้านเด็กกำพร้าใช่หรือไม่
งานอาสาสมัครนั้นมิได้สร้างขึ้นอย่างเหมาะสมเสมอไป ส่วนมากโอกาสนั้นเกิดขึ้นจากความคิดของอาสาสมัคร มากกว่าความต้องการที่แท้จริงของเด็ก
ตรวจสอบรายละเอียดโอกาสการเป็นอาสาสมัคร
ความต้องการอาสาสมัครมาจากชุมชนท้องถิ่น
หาข้อมูลว่าเหตุใดจึงเกิดโครงการดังกล่าวขึ้น และเหตุใดโครงการดังกล่าวจึงต้องการอาสาสมัคร โครงการที่เกิดขึ้นนั้นควรเป็นโครงการที่มีสมาชิกชุมชนในพื้นที่เป็นผู้กำหนดทิศทางและเป็นผู้ดำเนินการ
โครงการมีความยั่งยืน
โครงการที่เกิดขึ้นไม่ควรต้องพึ่งพิงอาสาสมัคร ถามว่าโครงการจะเป็นอย่างไร หากอาสาสมัครกลับบ้านไป
ไม่มีทางเลือกอย่างอื่นในท้องถิ่นแล้ว
ควรหาโครงการที่อาสาสมัครทำบทบาทในการเพิ่มศักยภาพ หรือขีดความสามารถของคนในท้องถิ่น เช่น จัดการฝึกอบรม หรือเสริมสร้างทักษะการทำงานในระยะสั้น ด้วยการทำงานร่วมกับคนในพื้นที่
ต้องไม่กี่ยวข้องกับ “เด็กกำพร้า” หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบาง
เลือกองค์กรหรือบริษัทที่ไม่เคยดำเนินการ หรือหยุดดำเนินโครงการอาสาสมัครในสถานสงเคราะห์เด็กแล้ว
พิจารณาคุณสมบัติของท่านในฐานะอาสาสมัคร
ทักษะที่ท่านมีตรงกันกับทักษะที่ต้องการ
พิจารณาว่าท่านมีทักษะอะไรบ้างที่จะใช้ในการเป็นอาสาสมัคร โดยทักษะที่มัก “เป็นที่ต้องการ” ได้แก่ ทักษะด้านดิจิตอล การติดตามตรวจสอบและการประเมินผล การถ่ายภาพและผลิตสื่อ การระดมทุน ภาษาและคอมพิวเตอร์ หลีกเลี่ยงการเป็นอาสาสมัครที่คุณเองไม่มีทักษะหรือไม่มีคุณสมบัติ เช่น การสอน การเลี้ยงดูเด็ก หรือให้การรักษาทางการแพทย์
งานอาสาสมัครที่สร้างุณค่าและมูลค่าต่อตัวเอง
หางานอาสาสมัครที่สามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เมื่อท่านกลับมาบ้าน นายจ้างจะมีความสนใจหากสามารถแสดงให้เห็นว่าประสบการณ์อาสาสมัครนั้น สร้างผลกระทบเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง นายจ้างไม่สนใจเพียงแค่ท่านเคยได้เป็นอาสาสมัครในต่างประเทศมาก่อน
ตรวจสอบคุณสมบัติขององค์กรหรือตัวกลางผู้จัดหาอาสาสมัคร
พิจารณาองค์กรที่ทำงานสร้างการเปลี่ยนแปลง
ตรวจสอบองค์กรที่จะไปอาสา ว่ามีประวัติผลงานและความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ รวมถึงมีการกำกับติดตามประเมิณผลอย่างไรบ้าง
ความปลอดภัยในการเป็นอาสาสมัคร
บางบริษัทจัดหาอาสาสมัครให้กับองค์กรอื่น บางบริษัทจัดหาอาสาสมัครเพื่อให้ปฏิบัติงานภายในของบริษัทเอง ท่านต้องทราบว่ามีหน้าที่รับผิดชอบความปลอดภัยของท่าน และต้องติดต่อใครหากมีเหตุฉุกเฉินกับท่าน
อย่าหลงถ้อยคำชวนเชื่อ
ระมัดระวังภาษาเร้าอารมณ์ที่บริษัทหรือองค์กรจัดหาอาสาสมัครเหล่านี้มักใช้ พยายามหลีกเลี่ยงงานอาสาสมัครที่กล่าวอ้างว่า “อาสาสมัครเป็นผู้พิทักษ์โลก สามารถให้ความรักที่เด็กต้องการ” หรือบริษัทที่ให้น้ำหนักส่วนที่เป็นการท่องเที่ยวมากเกินไป
ท่านต้องยื่นใบสมัครเพื่อเป็นอาสาสมัคร
เตรียมพร้อมยื่นใบสมัครและรับการตรวจสอบคุณสมบัติ เช่นเดียวกับที่คุณสมัครงานหรือสมัครเรียนในมหาวิทยาลัย ท่านควรได้รับการสนับสนุนเพื่อเตรียมความพร้อม หรือการฝึกอบรมก่อนเดินทาง
ภารกิจสำหรับบ้านเด็กกำพร้า
การเดินทางไปเยี่ยมชม หรือทำงานเป็นอาสาสมัครในสถานรองรับเด็ก ซึ่งส่วนมากจะเรียกว่าบ้านเด็กกำพร้า หรือสถานสงเคราะห์เด็กนั้นเป็นการเดินทางไปเพื่อดูแลเลี้ยงดูเด็กกำพร้า
การเยี่ยมชมบ้านเด็กกำพร้าเหล่านี้ เป็นกระแสที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น แม้จะมีเจตนาดีก็ตาม แต่ก็มีข้อน่ากังวลถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก และยิ่งทำให้มีการพึ่งพิงการเลี้ยงดูทดแทนในรูปแบบสถานรองรับมากกว่าที่จะเป็นการเลี้ยงดูทดแทนในรูปแบบครอบครัว

ท่านลองนึกภาพว่าตัวเองเป็นเด็ก ที่ตลอดทั้งชีวิตมีแต่คนแปลกหน้า และอาสาสมัครผ่านเข้ามาไม้รู้จบ
ทุกสัปดาห์จะมีคนหน้าใหม่เข้ามาสลับสับเปลี่ยน เพื่อร้องเพลงเดิมให้ฟังซ้ำๆ และเล่นเกมส์เดิมๆ กับท่าน แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้น จะมีเพียงไม่กี่คนที่พูดภาษาของท่านได้
เด็กส่วนใหญ่ที่อยู่ในบ้านเด็กกำพร้ามีความรู้สึกลึกๆว่า ตนเองถูกทอดทิ้ง ประกอบกับเด็กๆเหล่านี้ ส่วนมากไม่มีผู้ให้การเลี้ยงดูที่ผูกพันระยะยาว เมื่ออาสาสมัครเดินทางเข้ามาเยี่ยมและแสดงความรักความเอาใจใส่ จะทำให้เด็กมีความหวังว่าตนจะได้รับความรักความเอาใจใส่ หรือแม้กระทั่งคิดว่าจะได้รับการอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่ออาสาสมัครจากไป เด็กก็รู้สึกถึงความเจ็บปวดจากการถูกทอดทิ้งซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อเวลาผ่านไป เด็กจำนวนมากเรียนรู้ที่จะป้องกันตนเองมิให้รู้สึกเจ็บปวดอีก จึงมักไม่เต็มใจ หรือไม่สามารถสร้างความผูกพันใดๆ กับใครอีก
ปัจจุบันนี้ มีเด็กนับล้านคนที่อาศัยอยู่ในบ้านเด็กกำพร้าทั่วโลก เด็กจำนวนมากยังมีพ่อแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่ อย่างดีที่สุดเด็กก็จะมีบ้านพักอาศัย อาหาร และได้รับการศึกษา อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่แย่ที่สุดนั้น เด็กจะถูกโดดเดี่ยว อดอาหารและถูกล่วงละเมิด
นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังประเทศต่างๆ เช่น ประเทศไทย อาจจะมีโอกาสไปเยี่ยมบ้านเด็กกำพร้าก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศ ระหว่างการเข้าเยี่ยม อาจจะชมการแสดงฟ้อนรำของเด็ก และบริจาคเงินจำนวนเล็กน้อยเพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของบ้านเด็กกำพร้า นักท่องเที่ยวที่มีเจตนาดีเหล่านี้ อาจไม่ตระหนักว่ากำลังสร้างความต้องการเทียม ให้เกิดบ้านเด็กกำพร้าเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการท่องเที่ยวลักษณะนี้ จนทำให้เกิดอุตสาหกรรมบ้านเด็กกำพร้าขึ้น หรือที่เรียกว่า การท่องเที่ยวบ้านเด็กกำพร้า (Orphanage Tourism)
แม้ว่านักท่องเที่ยวจะมีเจตนาดีเพียงใดก็ตาม แต่การเยี่ยมบ้านเด็กกำพร้า กลับส่งผลร้ายต่อเด็ก มากกว่าเป็นการช่วยเหลือเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสุขภาพจิต รวมทั้งความสามารถของเด็กในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
ผลกระทบด้านลบ ได้แก่
- ทำให้เด็กถูกแยกออกจากผู้เลี้ยงดูหลักโดยไม่จำเป็น
- เด็กมีความเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิด
- การที่บุคคลแปลกหน้าสามารถเข้าถึงตัวเด็กที่มีภาวะเปราะบางได้ กลายเป็นเรื่องปกติ
- เกิดอาการความผูกพันผิดปกติในเด็ก
ทั้งนี้ การศึกษาของ Tara Winkler จาก Cambodian Children’s Trust พบว่า เด็กที่เติบโตในบ้านเด็กกำพร้านั้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
- มีโอกาสเกี่ยวข้องกับการค้าบริการทางเพศมากกว่าเด็กทั่วไป 10 เท่า
- มีโอกาสก่ออาชญากรรมมากกว่าเด็กทั่วไป 40 เท่า
- มีโอกาสที่จะฆ่าตัวตายมากกว่าเด็กทั่วไป 500 เท่า
การไม่เลือกเป็นอาสาสมัครบ้านเด็กกำพร้าหรือสถานรับเลี้ยงเด็กนั้น ช่วยในเรื่องดังต่อไปนี้
ยุติการเลี้ยงดูเด็กในสถานรองรับ
เด็กกว่า 8 ล้านคน อยู่ในสถานสงเคราะห์เด็กทั่วโลก เด็กเหล่านี้ส่วนมากยังมีพ่อหรือแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งพ่อหรือแม่ของเด็กเหล่านี้สามารถเลี้ยงดูเด็กได้หากได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมและเพียงพอ ทั้งนี้ สาเหตุที่เด็กต้องอยู่ในสถานสงเคราะห์ มีหลายประการ ดังต่อไปนี้
มีการศึกษาวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ความยากจนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กต้องอยู่ในสถานสงเคราะห์ มิใช่เพราะเด็กไม่มีผู้เลี้ยงดู แต่เพราะพ่อแม่ หรือผู้ทำหน้าที่เลี้ยงดูเด็กประสบกับความยากลำบากในการเลี้ยงดูเด็ก จึงจำเป็นต้องให้เด็กเข้าสู่สถานสงเคราะห์ เพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของเด็ก รวมถึงเหตุผลอื่นๆ ได้แก่ การล่วงละเมิด การถูกทอดทิ้ง ภาวะความพิการ (ไม่ว่าของเด็กเอง หรือของพ่อแม่) ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือความขัดแย้ง
ยุติการแยกเด็กออกจากครอบครัวโดยไม่จำเป็น
บทความวิชาการทฤษฎีสังคมศาสตร์ รวมทั้งแนวทางปฏิบัติสากล ต่างเห็นพ้องไปทางเดียวกันว่า สภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดในการเลี้ยงดูเด็กนั้น คือ ครอบครัวที่เข้มแข็งและอบอุ่น เมื่อ ครอบครัวได้ให้ความรักความเอาใจใส่ ความมั่นคงปลอดภัย และปกป้องคุ้มครองแก่เด็กนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี
ปัจจุบันเริ่มมีแนวโน้มที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายทั้งในระดับสากลและระดับประเทศ ตลอดจนองค์กรภาคเอกชนจะเริ่มเปลี่ยนทิศทางการทำงาน จากเดิมที่เคยพึ่งพิงการเลี้ยงดูเด็กในรูปแบบสถานสงเคราะห์ เป็นการเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงดูทดแทนในรูปแบบครอบครัวมากยิ่งขึ้น
เนื้อหาในหน้านี้มาจาก ReThinkORPHANAGES.org
แหล่งข้อมูลสำหรับอาสาสมัคร
คิดก่อนจะอาสาสมัคร (BEFORE VOLUNTEERING)
– RETHINKINGORPHANAGES.ORG
คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นอาสาสมัคร ในการเลือกสรรงานอาสาที่เป็นที่ต้องการจริงๆ เพื่อให้การไปอาสาสมัครนั้นเป็นประโยชน์และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
7 TIPS FOR TRAVELERS – CHILD SAFE MOVEMENT
7 ข้อคิด ปกป้องเด็ก สำหรับนักท่องเที่ยว
WHY TO SAY NO – RETHINKORPHANAGES.ORG
คนส่วนใหญ่ที่ไปเป็นอาสาสมัครในต่าง ก็เพื่อทำประโยชน์ และหาประสบการณ์ในวัฒนธรรมใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ประกอบธุรกิจจัดส่งอาสาสมัครนั้นอาจต้องการสร้างประสบการณ์ “เปลี่ยนชีวิต” ให้แก่อาสาสมัครมากกว่าที่จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของ งานอาสาและความต้องการของชุมชน
ต่อไปนี้เป็นข้อพิจารณาเพื่อให้การหาประสบการณ์ในต่างแดนของท่าน สร้างความแตกต่างได้อย่างแท้จริง
หากท่านพบเห็นหรือทราบข่าวเด็กตกอยู่ในภาวะอันตราย
โปรดติดต่อ
1300
ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วนคุ้มครองเด็ก
1387
มูลนิธิสายเด็กแห่งประเทศไทย